Bunyawat Witthayalai School

โครงสร้างการบริหาร

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

อำนาจหน้าที่ของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยในฐานะสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทบาทและอำนาจหน้าที่ของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553, และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ดังนี้:

  • จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณ และการบริหารทั่วไป ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน, บริบทและความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และแผนยุทธศาสตร์ชาติ
  • จัดตั้งงบประมาณและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ ของสถานศึกษา
  • พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของนักเรียน ชุมชน และท้องถิ่น
  • จัดการเรียนการสอน จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม รวมถึงส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  • ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และแนวปฏิบัติ ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  • กำกับ ติดตาม และประเมินผล ตามแผนงาน โครงการ และประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมถึงพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดำเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
  • ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
  • จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา รวมถึงการรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
  • ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษาและสถาบันอื่นในชุมชนและท้องถิ่น
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวกับกิจการภายในสถานศึกษา หรือตามที่ได้รับมอบหมายและตามที่กฎหมายกำหนด

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

การบริหารงานของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยยึดหลักตามกฎหมายสำคัญ ดังนี้:

  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
  • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 38 (กรรมการสถานศึกษา) และมาตรา 39 (อำนาจหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา)
  • กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2547 (ออกตามมาตรา 34 วรรคสี่ ของ พ.ร.บ. บริหารกระทรวงศึกษาธิการ)
  • กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา (ออกตามมาตรา 39 วรรคสอง ของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542)
  • ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 (ออกตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ. บริหารกระทรวงศึกษาธิการ)
  • กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการสรรหากรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546
  • กฎระเบียบและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทบาทและอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ดังนี้:

1. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

  • จัดรูปแบบการศึกษา ตามมาตรา 15
  • จัดกระบวนการศึกษา ตามมาตรา 24-30
  • บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน ตามมาตรา 39
  • เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ตามมาตรา 40
  • จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ตามมาตรา 48-50
  • ปกครอง ดูแล บำรุงรักษาทรัพย์สิน ของสถานศึกษาตามมาตรา 59
  • พัฒนาบุคลากรและนักเรียนด้านเทคโนโลยี ตามมาตรา 65-66

2. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

  • ผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียน ตามมาตรา 6
  • เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่
  • จัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่อง พิการ ด้อยโอกาส ในรูปแบบที่เหมาะสมตามมาตรา 12
  • ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

3. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (มาตรา 39)

  • เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และบุคลากรในสถานศึกษา
  • บริหารกิจการสถานศึกษา
  • ประสานและระดมทรัพยากร
  • เป็นผู้แทนของสถานศึกษา
  • จัดทำรายงานประจำปี ต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่
  • อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตร
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมายและตามที่ได้รับการกระจายอำนาจ (ปฏิบัติราชการแทน) จากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, เลขาธิการ, ผู้อำนวยการสำนักฯ ในกรม, และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

4. อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา พ.ศ. 2546

  • วิเคราะห์และจัดทำนโยบาย แผนงาน ของสถานศึกษา
  • วางระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ
  • เสนอขอจัดตั้งเงินอุดหนุนทั่วไป
  • แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทำงาน ต่าง ๆ

5. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

  • ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล ตามมาตรา 27 (1)
  • พิจารณาความดีความชอบ ตามมาตรา 27 (2)
  • ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร ตามมาตรา 27 (3)
  • จัดทำมาตรฐานภาระงานครู ตามมาตรา 27 (4)
  • ประเมินผลการปฏิบัติงานครู ตามมาตรา 27 (5)
  • ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ อ.ก.ค.ศ. และกรรมการโรงเรียนมอบหมาย ตามมาตรา 27 (6)
  • สั่งให้ครูออกจากราชการ กรณีขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 49
  • สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครู และบุคลากร ตามมาตรา 53 (4)
  • สั่งให้ครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก หรือ ให้พ้นการทดลองทำงานต่อไป ตามมาตรา 56 วรรคสอง
  • สั่งให้ครูที่ออกไปแล้วกลับเข้ามา ตามมติ อ.ก.ค.ศ. ตามมาตรา 64
  • สั่งให้ครูรักษาการในตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) ตามมาตรา 68
  • สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครู ตามมาตรา 73
  • ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น ตามมาตรา 75
  • แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ ระเบียบแบบแผนฯ ตามมาตรา 78
  • ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามมาตรา 79
  • ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน ตามมาตรา 81
  • รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ตามมาตรา 82
  • เสริมสร้างและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ตามมาตรา 95, 98
  • อนุญาตหรือยับยั้งการลาออก ตามมาตรา 108
  • สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวน กรณีกล่าวหาไม่เลื่อมใสปกครองฯ ตามมาตรา 110 (4)
  • สั่งให้ครูออกจากราชการ ในกรณีต่างๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบตำแหน่ง ไร้ประสิทธิภาพ ถูกจำคุก